หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ   “พ.ร.บ. ความมั่นคง กับการชุมนุมของกลุ่ม นปช.”
                  จากการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรในพื้นที่เขตดุสิตระหว่างวันที่
29 ส.ค. – 1 ก.ย. 2552 ซึ่งเป็นช่วงการนัดชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำมา
ซึ่งเสียงวิจารณ์ที่หลากหลายโดยมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย    ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) 
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องดังกล่าวขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัย
อยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,027 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 49.9  และเพศหญิงร้อยละ 50.1  เมื่อวันที่ 26-27
สิงหาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
น่าเป็นห่วงมาก
48.4
น่าเป็นห่วงค่อนข้างมาก
35.4
ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง
12.2
ไม่น่าเป็นห่วงเลย
4.0
 
 
             2. เปรียบเทียบผลดีและผลเสียจากการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ ในพื้นที่เขตดุสิต
                 ในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 29 ส.ค. – 1 ก.ย. 52 พบว่า


 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะส่งผลเสียมากกว่า
37.8
เชื่อว่าจะส่งผลดีมากกว่า
21.7
ไม่แน่ใจ
40.5
 
 
             3. เรื่องที่ประชาชนเป็นห่วงมากที่สุดจากการนัดชุมนุมของกลุ่ม นปช. และการประกาศใช้ พ.ร.บ.
                 ความมั่นคงฯ ในครั้งนี้ คือ


 
ร้อยละ
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของไทย
36.0
การฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์โดยผู้ไม่หวังดี
28.3
การจราจรติดขัด
16.2
การใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม
15.9
อื่นๆ อาทิ การริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการเสียเลือดเนื้อ
ของคนไทยด้วยกัน ฯลฯ
3.6
 
 
             4. ความเชื่อมั่นต่อความสามารถของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมสถานการณ์
                 การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ไม่ให้ยืดเยื้อบานปลาย


 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะสามารถควบคุมได้
35.8
ไม่เชื่อว่าจะสามารถควบคุมได้
31.7
ไม่แน่ใจ
32.5
 
 
             5. สิ่งที่ต้องการให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ทำมากที่สุดในขณะนี้ คือ

 
ร้อยละ
เดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน
28.8
ยุบสภา
22.2
แก้ปัญหาความขัดแย้งในรัฐบาล
19.3
แก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น
12.9
แก้เกม พ.ต.ท. ทักษิณ และกลุ่ม นปช.
7.1
ปรับคณะรัฐมนตรี
3.3
อื่นๆ อาทิ สร้างความสามัคคีของคนในชาติ แก้ปัญหาภาคใต้
แก้ปัญหาเยาวชน ฯลฯ
6.4
 
 
             6. สำหรับความเชื่อมั่นเกี่ยวกับระยะเวลาในการอยู่บริหารประเทศของรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธ์ พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ได้เกิน 1 ปี
( ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
  พบว่าความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะอยู่ได้เกิน 1 ปีลดลงร้อยละ 6.3
)
58.2
เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ไม่ครบ 1 ปี
ในจำนวนนี้เชื่อว่าสาเหตุที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ครบ 1 ปี เนื่องจาก
  ผลงานไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน ร้อยละ  12.9
  ความขัดแย้งกับพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ  9.6
  ความขัดแย้งภายในพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ  6.6
  การชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช. ร้อยละ  5.9
  ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ  5.5
  อื่นๆ อาทิ นายกฯ ไม่เด็ดขาด ฯลฯ ร้อยละ  1.3
41.8
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาล
ประกาศใช้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรในพื้นที่เขตดุสิตระหว่างวันที่ 29 ส.ค. – 1 ก.ย. 2552 ซึ่งเป็น
ช่วงการนัดชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้สังคมและแต่ละฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร   ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยการสุ่มเขตการปกครองทั้งเขต
ชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวนทั้งสิ้น 26 เขต จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ  
และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,027 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 49.9  และ
เพศหญิงร้อยละ 50.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 26 - 27 สิงหาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 สิงหาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
512
49.9
             หญิง
515
50.1
รวม
1,027
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
261
25.4
             26 – 35 ปี
282
27.5
             36 – 45 ปี
234
22.8
            46 ปีขึ้นไป
250
24.3
รวม
1,027
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
593
57.7
             ปริญญาตรี
389
37.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
45
4.4
รวม
1,027
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
113
10.9
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
273
26.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
298
29.0
             รับจ้างทั่วไป
114
11.1
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
61
5.9
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
168
16.4
รวม
1,027
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776